วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แปลข่าวสาร

The Hair Tailor
Bespoke Grooming & Styling. Branding

41f698c373bb137d2ee687c496f0c650.jpg

The Hair Tailor is an independent hair & fashion stylist from newcastle upon tyne. She is based from her own salon or travels. Her no nonsense attitude and love of all classic british style and fashion give her the cutting edge above most stylists.

The logo for The Hair Tailor had to convey traditional British style. With a slight nod to traditional barber shop themes, a modern clean feel was also combined to create a brand marquee that reflects the 1960's modernist fashions that Beppy herself and her targeted clientele draw their image and fashion from.

คำแปลตรงตัวจาก Google
ผมปรับเป็นเส้นอิสระ และแฟชั่นสไตลิสต์จากนิวคาสเซิลอัพพอนไทน์ . เธอใช้จากร้านของเธอเองหรือเดินทาง เธอไม่ได้เรื่องทัศนคติและความรักในอังกฤษสไตล์คลาสสิกและแฟชั่นให้เธอตัดขอบด้านบนของเธอมากที่สุด
โลโก้สำหรับผมตัดได้ถ่ายทอดสไตล์อังกฤษแบบดั้งเดิม พร้อมกับพยักหน้าเล็กน้อยเพื่อธีมร้านตัดผมโบราณ รู้สึกสะอาดทันสมัยก็รวมกันเพื่อสร้างแบรนด์ปะรำที่สะท้อน 1960 แฟชั่นสมัยใหม่ที่ beppy ตัวเองและเป้าหมายลูกค้าวาด ภาพแฟชั่น จาก

    แปลโดยสรุปใจความด้วยตนเอง
The Hair Tailor เป็นช่างทำผมอิสระและนักออกแบบแฟชั่นจากนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ เธอมีพื้นฐานมาจากร้านทำผมของเธอและมาจากการเดินทางท่องเที่ยว เธอมีทัศนคติที่มีสาระ (เธอไม่มีทัศนคติที่ไร้สาระ) และรักในในทุกสไตร์ที่คลาสสิกในแบบ บริทิช (หรือชาวอังกฤษ) และแฟชั่นได้สอนเธอให้เรียนรู้ขั้นสุดยอดของการพัฒนาที่เหนือกว่านักออกแบบ
โลโก้ของ The Hair Tailor ได้มีการถ่ายทอดสไตล์ในแบบดั้งเดิมของอังกฤษ ด้วยการก้มศีรษะเล็กน้อยตามแบบดั้งเดิมของรูปแบบร้านตัดผม ความรู้สึกที่สะอาดและทันสมัยยังถูกรวบรวมเพื่อสร้างแบรนด์ขนาดใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นของคนที่ทันสมัยในยุค 1960

4c746b3276abbbf87b63607aa5f442ed.jpg

3f45766b41730d9f367e15815cbad7c1.jpg

Shovel & Bell
bbf9dacd11a8c22ce1207b723b1d82fc.jpg
Shovel & Bell is the latest up-market gelateria and cafe in Guangzhou, China. The brief was to create an artisinal gelato brand with an emphasis on experience, quality, and taste. Shovel & Bell's vision was to use traditional preparation methods for making gelato and premium ingredients, versus industrial production and preparation. Their customers were to be working adults who appreciate quality and enjoy indulgence.
The name "Shovel & Bell" came from the idea of traditional gelato shovels, and childhood feeling when you hear the ice cream bell. We introduced a colour palette of 10, gelato-inspired colours, along with gelato drips and splatters as part of the visual elements. While we wanted our brand to reflect quality and luxury, we also wanted to bring out the childish side of people — the feeling of a cold scoop on a hot summer day.

คำแปลตรงตัวจาก Google
พลั่วและระฆังเป็นล่าสุดตลาดเจราเตเรียและคาเฟ่ในกว่างโจว , จีน สรุปคือการสร้าง artisinal ไอศครีมแบรนด์ที่เน้นประสบการณ์ คุณภาพ และรสชาติ วิสัยทัศน์พลั่วและระฆังคือการใช้วิธีการเตรียมแบบดั้งเดิมสำหรับทำไอศครีมและส่วนผสมพิเศษ เมื่อเทียบกับการผลิตในอุตสาหกรรม และการเตรียมตัว ลูกค้าของพวกเขาจะทำงานผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบคุณภาพและเพลิดเพลินกับเครื่องดื่ม
ชื่อ " พลั่วและระฆัง " ที่มาจากความคิดของพลั่ว เจลาโต้แบบดั้งเดิม และวัยเด็กความรู้สึกเมื่อได้ยินไอศครีมระฆัง เราแนะนำ จานสี 10 สีไอศครีมเจลาโต้แรงบันดาลใจพร้อมกับหยดและ splatters เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบภาพ ในขณะที่เราอยากให้แบรนด์ของเราสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ และหรูหรา นอกจากนี้เรายังต้องการที่จะนำออกด้านข้างของเด็ก ๆ คน รู้สึกข่าวเย็นในวันฤดูร้อนร้อน

แปลโดยสรุปใจความด้วยตนเอง
Shovel & Bell เป็นร้านกาแฟในเมืองกว่างโจ ประเทศจีน เป็นแบรนไอศครีมที่สร้างจากประสบการณ์ จะใส่ใจเรื่องคุณภาพ และรสชาติของไอศครีมเป็นหลัก วิสัยทัศน์ของร้านคือ จะทำไอศครีมในแบบดั้งเดิม เน้นวัถุดิบที่มีคุณภาพมากกว่าไอศครีมที่ผลิตในโรงงาน กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน ที่ชื่นชอบสินค้าที่มีคุณภาพ และเพลิดเพลินไปกับมัน
ชื่อ "Shovel & Bell" มาจากความคิดของเครื่องตักไอครีมเจลาโต้แบบดั้งเดิมและความรู้สึกในวัยเด็กเมื่อคุณได้ยินเสียงกริ่งไอครีม เราได้แนะนำจานสีทั้ง 10 สี แรงบันดาลใจจากสีของไอครีม ที่หยดและกระเด็นเหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบภาพ ในขณะที่เราต้องการให้แบรนด์ของเราสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพและความหรูหรา เรายังต้องการที่จะดึงด้านไร้เดียงสาที่อยู่ในตัวคนออกมา ความรู้สึกของที่ตักที่เย็นในวันที่ฤดูร้อน

8fe0426aaa48e46d2fd287a77e69ae23.jpg

869d38773847d41407b93927ac71e395.jpg


PACT
Branding & Identity
8c2532c4f5c194421d02fdbab0895e19.jpg

PACT is an open space where partnerships between like-minded businesses are housed. The clients’ different backgrounds in hairstyling, food and fashion, challenged the agency to create distinction amidst homogenising the brand experience. We first went about designing a unifying element with the use of the ampersand (&) symbol, altering its structure to spell “PACT”. The ampersand celebrates partnerships and is positive about the likelihood of future collaborations. The design execution of marbling was chosen to depict three dissimilar businesses coming together to form a single-minded entity. The swirls and mix of marbling underlines the brand’s reflexive yet determined vision of celebrating partnerships.

คำแปลตรงตัวจาก Google
สัญญา คือ พื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่มีใจเดียวกันจะตั้งอยู่ที่ ของลูกค้าแตกต่างกันในแบบผม อาหาร และแฟชั่น ท้าทายหน่วยงานเพื่อสร้างความแตกต่างท่ามกลาง homogenising ประสบการณ์แบรนด์ แรกที่เราไปเกี่ยวกับการออกแบบการรวมองค์ประกอบกับการใช้แอมเพอร์แซนด์ ( & ) สัญลักษณ์ของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของมันสะกด " สัญญา " ที่ไทยแลนด์เซอร์กิตฉลองความร่วมมือและเป็นบวกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของความร่วมมือในอนาคต การออกแบบการหินอ่อนถูกเลือกเพื่อแสดงถึงสามที่แตกต่างกันธุรกิจมาร่วมกันเพื่อฟอร์มอันมุ่งมั่น วงและส่วนผสมของ marbling ขีดเส้นใต้แบรนด์สะท้อนยังกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมฉลอง พันธมิตร

แปลโดยสรุปใจความด้วยตนเอง
PACT เปิดช่องว่างให้พันธมิตรระหว่างธุรกิจที่มีจุดประสงค์เดียวกัน ลูกค้าที่มีพื้นฐานแตกต่างกันในแบบทรงผม อาหาร และแฟชั่น ได้ท้าทายหน่วยงานเพื่อที่จะคิดสร้างสรรค์ความแตกต่างท่ามกลางแบนรด์ที่มีประสบการณ์
ก่อนอื่นเราไปดูเกี่ยวกับการออกแบบองค์ประกอบรวมกันที่มีการใช้เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการสะกด “PACT” เครื่องหมายประกอบกับความร่วมมือและเป็นบวกกับความเป็นไปได้ของความร่วมมือในอนาคต เน้นลวยลายของหินอ่อนเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงสามธุรกิจที่แตกต่างกันสามารถมาร่วมกันในรูปแบบองค์กรเดียวที่มีจุดประสงค์เดียวกัน การผสมผสานของหินอ่อนขีดเส้นใต้แบรนด์ที่สะท้อนวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นของการฉลองพันธมิตร

ae09d60e0a4a92d4e7a4094948ff2d10.jpg

22c240df3926fcd59cbbb14fd5bd2548.jpg


วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558


ผลิตภัณฑ์แบรนด์ "คลองมอญ"

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของจังหวัด ชัยนาท
เขตอำเภอ วัดสิงห์ หรัส 17120
(วันที่ 22 / สค. / 58)

สัมภาษณ์ผู้ประกอบการแบรนด์ "คลองมอญ"
ผลิตภัณฑ์ บุหงาพาหอม


ผู้ให้ข้อมูล / เจ้าของแบรนด์ : นาง สินมงคล อินธนู
อายุ : 46 ปี
ตำแหน่ง : ค้าขาย
ประสบการณ์ทำงาน : 8 ปี
ที่อยู่ : 58 ม.4 หมู่บ้านคลองมอญ ถ.ชัยนาท-วัดสิงห์ ต.มาขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท 17000
เบอร์โทรติดต่อ : 056-475567 , 087-2071795
















ที่มา : นางสาวภาชินี ไชยวุฒิ
วันที่ 22 สค. 58


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิสาหกิจชุมชน



“วิสาหกิจชุมชน” อาจจะเป็นคำใหม่ที่หลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดไปว่าเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเหมือนหลาย ๆ โครงการที่ผ่านมา ซึ่งวิสาหกิจชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจกระแสหลัก อันเนื่องมาจากว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย

     วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น

     “วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว 


ความหมายของวิสาหกิจชุมชน

     ได้ให้คำนิยามคำว่า วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise--SMCE) หมายถึง “การประกอบการขนาดเล็กและขนาดจิ๋ว เพื่อจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการพึ่งพาตนเองและความเพียงพอของครอบครัวและชุมชน ทุน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่น้องไว้ใจกัน) ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก”

     วิสาหกิจชุมชน หมายถึง การประกอบการ ซึ่งรวมถึงกระบวนการคิด การจัดการผลผลิต และทรัพยากรทุกขั้นตอนโดยมีภูมิปัญญาขององค์กรชุมชนหรือเครือข่ายขององค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งมิได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสร้างกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกำไรทางสังคม ได้แก่  ความเข้มแข็งของชุมชนและความสงบสุขของสังคมด้วย

     วิสาหกิจชุมชน คือ การประกอบการโดยชุมชนที่มีสมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งด้านการผลิต การค้า และการเงิน และต้องการใช้ปัจจัยการผลิตนี้ให้เกิดดอกผลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างรายได้และอาชีพ ด้านสังคม คือ การยึดโยงร้อยรัดความเป็นครอบครัวและชุมชนให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ แบ่งทุกข์แบ่งสุขซึ่งกันและกัน โดยผ่านการประกอบกระบวนการของชุมชน

     สำหรับความหมายของวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 นั้น วิสาหกิจชุมชน หมายความว่า “กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนประกาศกำหนด”


ลักษณะของวิสาหกิจชุมชน

     จากความหมายของวิสาหกิจชุมชนข้างต้นนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 อย่างด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชน คือ

        1.   ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่อย่างไรก็ดี คนนอกอาจมีส่วนร่วมโดยอาจมีการถือหุ้นได้เพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมมือ และให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่หุ้นใหญ่ทำให้มีอำนาจในการตัดสินใจ
        2.   ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน ซึ่งอาจจะนำวัตถุดิบบางส่วนมาจากภายนอกได้แต่เน้นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด
        3.   ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งมีความรู้ภูมิปัญญา หากมีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเกิดมีความเชื่อมั่นในตัวเองก็จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่เอาแต่เลียนแบบหรือแสวงหาสูตรสำเร็จ
        4.   มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล ฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานทุนที่สำคัญ เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปรับประยุกต์ให้ทันสมัย ผสมผสานกับความรู้ภูมิปัญญาสากลหรือจากที่อื่น
        5.   มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ทำแบบโครงการเดี่ยว คล้ายกับปลูกพืชเดี่ยว แต่เป็นการทำแบบวนเกษตร คือ มีหลาย ๆ กิจกรรมประสานผนึกพลัง (synergy) และเกื้อกูลกัน (cluster)
        6.   มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจหลัก การเรียนรู้คือหัวใจของกระบวนการพัฒนา วิสาหกิจชุมชน หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะมีแต่การเลียนแบบ การหาสูตรสำเร็จโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หากไม่มีการเรียนรู้ก็จะไม่มีวิสาหกิจชุมชนบนฐานความรู้ แต่บนฐานความรู้สึก ความอยาก ความต้องการตามที่สื่อในสังคมกระตุ้นให้เกิด ทำให้ความอยากกลายเป็นความจำเป็นสำหรับชีวิตไปหมด
        7.   มีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย การพึ่งตนเองคือเป้าหมายอันดับแรกและสำคัญที่สุดของวิสาหกิจชุมชน ถ้าหากพลาดเป้าหมายนี้คือพลาดเป้า วิสาหกิจชุมชนจะกลายเป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายที่กำไรก่อนที่จะคิดทำให้รอด ไม่พัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนให้เกิดความมั่นคงก่อนที่จะก้าวไปพัฒนาธุรกิจ


ประเภทของวิสาหกิจชุมชน

     ในการแบ่งประเภทของวิสาหกิจชุมชน สามารถมองได้หลายมิติ กล่าวคือ แบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก และแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน

     การแบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
        1.   วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน เป็นการผลิตเพื่อการใช้ในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง คือ ข้าว อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย ซึ่งอยู่ในขีดความสามารถของชาวบ้านทั่วไปจะทำได้ เป็นของต้องกินต้องใช้ประจำวัน มีมูลค่ามากกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งปีของ แต่ละครัวเรือน แต่ชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าอยู่ใกล้เมืองหรือไกลเมืองต่างก็ซื้อกินซื้อใช้
        2.   วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำออกสู่ตลาดใหญ่    ได้เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น บางอย่างอาจมีสูตรเด็ดเคล็ดลับหรือคุณภาพดีในระดับมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็คือหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า

     ส่วนการแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้  
        1.   ระดับครอบครัว คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง เป็นการประกอบกิจกรรมเพื่อกินใช้ในครอบครัว เพื่อทดแทนการพึ่งพาจากภายนอก เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไว้ใช้กินในครอบครัว
        2.   ระดับชุมชนและเครือข่าย คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพอเพียง เป็นการประกอบกิจการ โดยกลุ่ม เพื่อตอบสนองการอุปโภคบริโภคในชุมชนและเครือข่าย ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนแบบก้าวหน้าได้ เพื่อที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้

     ทั้งนี้การประกอบการวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เน้นเพื่อกำไรสูงสุด แต่จะเน้นที่การลดค่าใช้จ่าย การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


ที่มา : http://ophbgo.blogspot.com/
ภาพบบรรยากาศการดูงาน
"ศิลปาชีพประทีปไทย"






วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จังหวัด ชัยนาท


ประวัติ
            ชัยนาทแปลตามศัพท์มีความหมายว่า "ชัยชนะที่มีเสียงบันลือ" เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากน้ำเก่า สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยพญาเลอไทครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยาง มาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อย ๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้งและมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองชัยนาทแห่งนี้

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 503 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองชัยนาท
  2. อำเภอมโนรมย์
  3. อำเภอวัดสิงห์
  4. อำเภอสรรพยา
  5. อำเภอสรรคบุรี
  6. อำเภอหันคา
  7. อำเภอหนองมะโมง
  8. อำเภอเนินขาม 

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด : หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
  • ตราประจำจังหวัด : รูปพระธรรมจักร รองรับด้วยพญาครุฑ เบื้องหลังเป็นแม่น้ำและภูเขา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์รูปพระธรรมจักรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดธรรมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล
  • ธงประจำจังหวัด : เป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น (magenta) ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : มะตูม (Aegle marmelos)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri)
  • หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์


                 โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกย่อว่า โอทอป (OTOP) เป็นโครงการกระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่น ซึ่งได้รับการออกแบบโดยทักษิณ ชินวัตร สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2544-2549 โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่นแต่ละตำบล โดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของญี่ปุ่น โครงการโอทอปกระตุ้นให้ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการตลาด เลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมาหนึ่งชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า "ผลิตภัณฑ์โอทอป" และจัดหาเวทีในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงงานหัตถกรรม ฝ้ายและผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น ของใช้ในครัวเรือนและอาหาร หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โครงการโอทอปได้ถูกยกเลิกไป ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งแต่เปลี่ยนชื่อใหม่

    ปรัชญา


    "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ
    1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
    2. พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
    3. การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
    ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางคว
    ามคิดรวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก